ชุมชนเข้มแข็ง รวมพลัง สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน

ชุมชนเข้มแข็ง เกิดขึ้นได้จากการร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนจนสามารถสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนยืนด้วยลำแข้งของตนเองได้

ภูมิปัญญาชาวบ้านและอัตลักษณ์ท้องถิ่น คือ สิ่งพิเศษที่มีเฉพาะตัวตน หรือ เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะพบว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ยิ่งหากนำความเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ มาพัฒนาต่อยอดผสานกับนวัตกรรม วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ก็ยิ่งสร้างพลังให้เกิดความเข้มแข็งได้อย่างดีเยี่ยม และนั่นคือสิ่งที่ GC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มองเห็น และเกิดเป็นแนวคิด “ชุมชนเข้มแข็ง

ที่ต้องการเดินหน้าทำให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน และขยายผลให้ชุมชนในภาพรวมได้ประโยชน์สูงที่สุดอย่างยั่งยืน โดยเราสามารถเชื่อมโยงมิติการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ดังนี้

มิติเศรษฐกิจ ด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างของการสนับสนุนการพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรอินทรีย์กลุ่มหอมมะหาด ผู้ปลูกพืชสมุนไพรพื้นถิ่นระยอง ให้นำผลผลิตมาพัฒนาต่อยอดด้วยการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรโดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติ เพื่อสุขอนามัยและสุขภาพผิวที่ดี LUFFALA สู่มาตรฐานระดับสากล ผ่าน “โครงการ Rayong Organic Living”

และการพัฒนาปรับปรุง “ศูนย์การเรียนรู้อาหารถิ่นระยอง ร้านใบชะมวง ภายใต้โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง (ฮิ)” เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำธุรกิจร้านอาหารให้กับนักศึกษาแผนกอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง

เพื่อให้สามารถไปเป็นผู้ประกอบการเองได้ เป็นการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบของดีในจังหวัดระยอง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือชาวประมง ทั้งยังเป็นการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและการแปรรูปอาหาร

มิติสังคม ด้านการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ฉายภาพไปที่ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ซึ่งมีการบริหารจัดการขยะที่ดีภายในชุมชน และ GC เห็นโอกาสที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการขยะได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย มีการนำระบบ YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ตั้งแต่การรวบรวม การคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง

เข้ามาช่วยพัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชน GC ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งเรื่องการคัดแยก การบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี จนทำให้วันนี้มีการตั้งเป็น “ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ซึ่งกลายเป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยองที่ชาวชุมชนวัดชากลูกหญ้าภูมิใจ

และสุดท้าย มิติสิ่งแวดล้อม ด้านการดูแลรักษาระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการเข้าไปช่วยร่วมพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ GC และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำระบบเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ทำให้การปลูกมะม่วงพื้นทรายของเกษตรกรที่ทำมากว่า 50 ปี สามารถคงคุณภาพความอร่อยของผลผลิตตลอดฤดูกาล การันตีด้วยรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทมะม่วงผลดิบ “เขียวเสวย” จากการประกวดผลไม้งานเกษตรแห่งชาติ (เกษตรแฟร์) ประจำปี 2563 รวมถึงการพัฒนาช่องทางการขาย Online โดยสร้าง Line Official: “Map Ta Phut Mango” พร้อมเสริมทักษะการขายให้กับเกษตรกร

เพื่อให้สวนมะม่วงสามารถจำหน่ายผลผลิตให้ลูกค้าแบบ Pre-Order ได้ รวมถึงช่วยวางระบบบริหารการขนส่ง เพื่อให้สวนสามารถขายผลผลิตได้ทั่วประเทศ (แอบกระซิบว่ามะม่วงอร่อย ๆ มีอีกไม่มากแล้ว รีบจองกันก่อนจะหมดฤดูกาลในเร็วๆ นี้)

 

GC และพันธมิตรภูมิใจทีได้เป็นพลังเสริมให้ทุกชุมชนพัฒนาไปสู่การเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน#ชุมชนเข้มแข็ง#เคมีเดียวกันสร้างสรรค์ทุกความสุข#GCCircularLiving#ChemistryforBetterLiving

About Post Author

ข่าวที่คุณอาจพลาดชม

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial